วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก ทำไมต้องล้าง?

ตอนที่เรายังเล็กบางครอบครัวเวลาที่ลูกเล็กป่วยเป็นไข้หวัดคงวุ่นวายกันไม่น้อยยิ่งถ้าเป็นไข้หวัดที่มีน้ำมูกด้วยแล้ว เด็กตัวเล็กยังไม่รู้วิธีการเอาน้ำมูกออกมา แน่นอนก็ต้องตามมาด้วยการงอแง แต่บางครอบครัวก็จะใช้เทคนิคการล้างจมูกให้เด็กเล็ก แต่เรารู้ไหมว่าการล้างจมูกให้เด็กเล็กมีข้อดียังไง ทำไมเราถึงควรล้างจมูกให้เด็กเล็ก บทความนี้อ้อมนะมาอธิบาย ข้อดีของการล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก การล้างจมูกคืออะไร และการล้างจมูกมีวิธีการทำยังไง สำหรับบทความนี้อ้อมได้ความรู้มาจากใบปลิวที่ทางโรงพยาบาลแจกให้ค่ะ เป็นของโครงการส่งเสริม และฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าวิธีนี้คือแนะนำจากผู้เชียวชาญจ้า เราไปดูกันเลยจ้า
การล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก ทำไมต้องล้าง?
การล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก ทำไมต้องล้าง?

การล้างจมูกสำหรับเด็กเล็ก ทำไมต้องล้าง?

การล้างจมูกคืออะไร

การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่หรือหยอดนํ้าเข้าไปในจมูก การล้างจมูกจะช่วย ชะล้างมูก คราบมูกหรือหนองบริเวณโพรงจมูก และ หลังโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด น้ำที่ใช้แนะนำให้ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และทำให้เชื้อโรคไม่เจริญ เติบโต

การล้างจมูกมีประโยชน์อย่างไร

  • ช่วยล้างมูกเหนียวข้น ที่ไม่สามารถระบาย ออกได้เอง ทำให้โพรงจมูกสะอาด
  • อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น
  • การระบายหนองจากไซนัสดีขึ้น
  • ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและ ไซนัสไปสู่ปอด
  • ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้ และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อ สารก่อภูมิแพ้
  • ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก
  • บรรเทาอาการคัดแน่นจมูกทำให้หายใจโล่งขึ้น
  • บรรเทาอาการระคายเคืองในจมูก
  • การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูกจะทำให้ยาพ่นจมูก มีประสิทธิภาพดีขึ้น

ควรล้างจมูกเมื่อไร

  • เมื่อมีนํ้ามูกเหนียวข้นจำนวนมาก
  • ก่อนใช้ยาพ่นจมูก

การล้างจมูกทำอย่างไร

  • 1.  เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
    • 1.1 นํ้าเกลือความเข้มข้น 0.9% ซึ่งหาซื้อได้จาก โรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา แนะนำให้ใช้ ขวดละ 100 ซีซี (นํ้าเกลือที่ใช้เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำ กลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม)
    • 1.2 ถ้วยสะอาดสำหรับใส่นํ้าเกลือ
    • 1.3 กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม)หรือขวดยาหยอดตา สำหรับเด็กขวบปีแรก
    • 1.4 กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 2-5 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) สำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
    • 1.4 ลูกยางแดงสำหรับดูดนํ้ามูก และเสมหะสำหรับเด็ก ที่ยังสั่งนํ้ามูก และบ้วนเสมหะเองไม่ได้ 
      • ลูกยางแดงเบอร์ 0-2 สำหรับเด็กขวบปีแรก
      • ลูกยางแดงเบอร์ 2-4 สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
    • 1.5 ภาชนะใส่นํ้าล้างจมูก และกระดาษทิชชู
  • 2. วิธีล้างจมูสำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งนํ้ามูก และบ้วนเสมหะเองไม่ได้
    • 2.1 ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด
    • 2.2 เทนํ้าเกลือใส่ขวดยาหยอดตา หรือใช้กระบอกฉีดยา ดูดนํ้าเกลือจนเต็ม
    • 2.3 ให้ใช้ผ้าห่มตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือ และดิ้นมาก การห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถ ล้างจมูกได้สะดวก นุ่มนวลและไม่เกิดการบาดเจ็บ
    • 2.4 ให้เด็กนอนในท่าศรีษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการ สำลัก
    • 2.5 จับหน้าให้นิ่ง ค่อยๆ หยด นํ้าเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือค่อยๆ สอดปลาย กระบอกฉีดยาเข้าไปใน รูจมูกข้างที่จะล้างโดยให้ วางปลายกระบอกฉีดยา ซิดด้านบนของรูจมูก ค่อยๆ ฉีดนํ้าเกลือครั้งละประมาณ 0.5 ซีซี
    • 2.6 ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกใน จมูกออก โดยให้บีบลูกยาง แดงจนสุดเพื่อไล่ลมออก แล้วค่อยๆสอดเข้าไปในรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม. ค่อยๆ ปล่อยมือ ที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดง บีบนํ้ามูกในลูกยางแดงทิ้งในกระดาษทิชชู ทำซํ้าหลายๆครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีนํ้ามูก ในกรณีที่รู้สึกว่ามิเสมหะในลำคอให้สอดลูกยางแดง เข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการ
    • 2.7 ให้เด็กไอเอาเสมหะออก ให้สอด ลูกยางแดงลึกถึง ประมาณ โคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้ไอ และ ทำการดูดเสมหะ เหมือนที่กล่าว มาแล้วข้างด้น (ระหว่างดูด เสมหะให้จับหน้าเด็กหันไปด้าน ใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการ สำลัก) ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงถัง ขยะแล้วล้างมือให้สะอาด


ในกรณีเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกได้

  1. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้า เล็กน้อย ค่อยๆ สอดปลาย กระบอกฉีดยาเหมือนที่กล่าว มาข้างต้น
  2. ค่อยๆ ฉีดนํ้าเกลือครั้งละ ประมาณ 0.5-1 ซีซี หรือ เท่าที่เด็กทนไต้ พร้อมกับสั่งให้เด็กกลืนนํ้าเกลือที่ไหลลงคอเป็นระยะๆ ระหว่างฉีด นํ้าเกลือ หรือให้บ้วนทิ้ง
  3. สั่งน้ำมูกลงในกระดาษทิชชู พร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้อง อุดรูจมูกอีกข้าง)
  4. ทำซํ้าหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละ ข้างจนไม่มีน้ำมูก
  5. วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
  6. ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดย
    1. กระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่นํ้าเกลือให้ล้าง นํ้าสบู่ หรือนํ้ายาล้างจาน ล้างด้วยนํ้าประปา จนหมดนํ้าสบู่ ผี่งให้แห้ง
    2. ล้างลูกยางแดงด้วยนํ้าสบู่ทั้งภายนอกและ ภายในล้างตามด้วยนํ้าประปาจนสะอาดโดยคว่ำ ปลายลูกยางแดงลง ควรนำไปต้มในนํ้าเดือด วันละครั้ง โดยดูดนํ้าเดือดเข้ามาในลูกยางแดง ต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วปีบนํ้าที่ค้างใน ลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง

ควรล้างจมูกม่อยแคไหน

อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้าและ ก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมากแน่นจมูก หรือ ก่อนใช้ยาพ่นจมูก แนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ ไม่เกิดอาการอาเจียน

การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่

โดยทั่วไปการล้างจมูกจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย หากทำได้ ถูกวิธีและทำในเวลาที่เหมาะสมดังนั้นจึงควรศึกษาวิธีการล้างจมูก ที่ถูกต้อง และควรล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร หรือ รับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกัน การอาเจียนหรือสำลัก หรือป้องกันเชื้อไม่ให้เข้าไปในโพรง ไชนัสได้

ข้อควรระวัง

นํ้าเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะ นํ้าเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่อง นานกว่าจะหมด จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 ซีซี เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
นอกจากนี้ ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ำมูกใส และมีจำนวนเล็กน้อยอาจใช้เช็ดจมูกด้วยนํ้าเกลือก็พอ) หลังใส่ น้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกให้สั่งน้ำมูกออกทันที ไม่ควรกลั้น หายใจเพื่อกักนํ้าเกลือให้ด้างในจมูกนาน เพราะนํ้าเกลืออาจ จะไหลย้อนไปในไซนัส และการสั่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ และไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้
ลำไย ลำพูน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น