สวัสดีจ้าวันนี้จะมาแนะนำสิ่งดีๆ อีกแล้ว ครั้งนี้เป็นกระโจมอบสมุนไพรสำหรับคุณแม่หลังคลอดค่ะ จากในรูปคงจะเห็นแล้วว่าหน้าตาแปลกๆ ที่เป็นแบบนี้เพราะทำขึ้นมาเอง ใช้แล้วก็ลื้อเก็บเข้าที่ค่ะ ขอบอกว่าใช้ดีมากๆ ค่ะ ไอเดียนี้ญาติๆ แนะนำมาค่ะ เขาบอกว่าหลังคลอดประมาณ 1 เดือน กรณีคลอดธรรมชาติ เราสามารถอบไพรได้เลย อบไพร ในที่นี้หมายถึงการอบสมุนไพรจ้า คล้ายกับการเข้าห้องซาวน่า หรือมีเครื่องสี่เหลี่ยมสำหรับอบตัว ลดความอ้วน ขับสารพิษ ประมาณนั้นค่ะ ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับสมุนไพรที่เราทำการอบด้วยว่าจะช่วยรักษาอาการอะไร แต่ที่อ้อมทำอ้อมสั่งซื่อสมุนไพรมาจากเน็ตค่ะ สำหรับคุณแม่หลังคลอด อาศัยเวลาช่วงที่ลูกนอนหลับก็เข้ากระโจม ก่อนหน้านั้นอ้อมจะให้นมลูกค่ะ ระหว่างนั้นแฟนจะเป็นคนประกอบกระโจมขึ้นมา ครั้งแรกๆ ไม่ค่อยดีเพราะโครงสร้างยังไม่อยู่ตัว แต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไปกระโจมอบสมุนไพรทำเองก็มีหน้าตาดีขึ้น การอบได้ดีขึ้น
อ้อมก็เอาลูกเข้านอน หลังจากนั้นอ้อมก็อาบน้ำ และ ดื่มน้ำแก้วนึง และเข้ากระโจม หากภายในกระโจมมีความร้อนที่พอเหมาะจะสามารถขับเหงื่อออกมาได้เร็ว รอประมาณ 15 นาที ให้ออกมาล้างเนื้อล้างตัว แล้วนั่งดื่มน้ำอีกรอบ รอกสักแป้บ ก็เข้าไปใหม่อีก 1 รอบก็พอค่ะ แต่ละครั้งอ้อมจะใช้เวลาโดยรวมประมาณ 30-50 นาที แล้วแต่ว่าลูกตื่นหรือไม่ หลังจากออกจากกระโจมก็ทำเหมือนเดิมค่ะ อาบน้ำชำระล้างเหงือที่ร่างกายขับออกมา ทำแบบนี้เกือบจะทุกวันค่ะ ระยะเวลาก็แล้วแต่ว่าเราสบายๆ ตัว ก็ทำเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ติดปัญหาอะไร
หลังจากอบสมุนไพรเสร็จ หม้อต้มสมุนไพรอ้อมจะเสียบปลั๊คทิ้งไว้ตั้งให้เป็นแบบอุ่น วันหลังก็เอาไปต้มอบใหม่ จะได้ประมาณ 3 ครั้ง ก็เปลี่ยนถุงสมุนไพรจ้า
เรื่องโครงสร้างกระโจมอบสมุนไพรจริงๆ สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นได้นะคะ แล้วแต่สะดวก บางคนอาจจะซื้อเป็นตู้อบมาเลย แต่ของอ้อมคิดว่าไม่คุ้มก็เลยทำเอง โครงสร้างก็ใช้ราวตากผ้าค่ะ 3 ขา มัดรวมรวมกัน ด้านในใช้ไม้แขวนเสื้อทำให้พื้นที่ด้านในดูกว้างขึ้นไม่อึดอัด นั่งสบายๆ
ส่วนผ้าคลุมกระโจมอบสมุนไพรอ้อมใช้ผ้าห่ม 2 ผืนค่ะ ผืนหนาอยู่ด้านใน และผืนบางอยู่ด้านนอก
เห็นแบบนี้แล้วอย่าดูถูกดูแคลนนะคะ ใช้ได้ดีมากๆ เลย ไม่แพ้ของที่ซื้อมาจ้า ถือเป็นไอเดียเล็กน้อยนะคะ สำหรับต่อยอดกันจ้า
จำอวดแสดง กระโจม อบสมุนไพรคุณแม่หลังคลอด |
จำอวดแสดง กระโจม
อบสมุนไพรคุณแม่หลังคลอด
ขั้นตอนก็ไม่ยากค่ะ หลังจากประกอบกระโจมเสร็จ ก็ให้ตั้งหม้อต้มสมุนไพรไว้ในกระโจมสักพักเพื่อให้ไอความร้อนละอุอยู่ในกระโจม ของอ้อมใช้หม้อหุงข้าวค่ะ แต่ต้องระวังระสายไฟนิดนึงนะคะ ให้ส่วนที่ต่อเชื่อมไฟ หันออกด้านนอกกระโจม หรืออยู่ด้านนอกกระโจมอบสมุนไพร เพราะจะได้ไม่โดยความชื้น และความร้อน ของอ้อมใช้ถาดพลาสติกรองหม้อหุงข้าวอีกชั้นนึงค่ะ หลังจากเปิดหม้อต้มทิ้งไว้สักพักเมื่อความร้อน และกลิ้นสมุนไพรเริ่มออกอ้อมก็เอาลูกเข้านอน หลังจากนั้นอ้อมก็อาบน้ำ และ ดื่มน้ำแก้วนึง และเข้ากระโจม หากภายในกระโจมมีความร้อนที่พอเหมาะจะสามารถขับเหงื่อออกมาได้เร็ว รอประมาณ 15 นาที ให้ออกมาล้างเนื้อล้างตัว แล้วนั่งดื่มน้ำอีกรอบ รอกสักแป้บ ก็เข้าไปใหม่อีก 1 รอบก็พอค่ะ แต่ละครั้งอ้อมจะใช้เวลาโดยรวมประมาณ 30-50 นาที แล้วแต่ว่าลูกตื่นหรือไม่ หลังจากออกจากกระโจมก็ทำเหมือนเดิมค่ะ อาบน้ำชำระล้างเหงือที่ร่างกายขับออกมา ทำแบบนี้เกือบจะทุกวันค่ะ ระยะเวลาก็แล้วแต่ว่าเราสบายๆ ตัว ก็ทำเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ติดปัญหาอะไร
หลังจากอบสมุนไพรเสร็จ หม้อต้มสมุนไพรอ้อมจะเสียบปลั๊คทิ้งไว้ตั้งให้เป็นแบบอุ่น วันหลังก็เอาไปต้มอบใหม่ จะได้ประมาณ 3 ครั้ง ก็เปลี่ยนถุงสมุนไพรจ้า
เรื่องโครงสร้างกระโจมอบสมุนไพรจริงๆ สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นได้นะคะ แล้วแต่สะดวก บางคนอาจจะซื้อเป็นตู้อบมาเลย แต่ของอ้อมคิดว่าไม่คุ้มก็เลยทำเอง โครงสร้างก็ใช้ราวตากผ้าค่ะ 3 ขา มัดรวมรวมกัน ด้านในใช้ไม้แขวนเสื้อทำให้พื้นที่ด้านในดูกว้างขึ้นไม่อึดอัด นั่งสบายๆ
ส่วนผ้าคลุมกระโจมอบสมุนไพรอ้อมใช้ผ้าห่ม 2 ผืนค่ะ ผืนหนาอยู่ด้านใน และผืนบางอยู่ด้านนอก
เห็นแบบนี้แล้วอย่าดูถูกดูแคลนนะคะ ใช้ได้ดีมากๆ เลย ไม่แพ้ของที่ซื้อมาจ้า ถือเป็นไอเดียเล็กน้อยนะคะ สำหรับต่อยอดกันจ้า
สรุปวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำกระโจมอบสมุนไพรคุณแม่หลังคลอด
- คานสำหรับสร้างกระโจม ใช้สามขา ในที่นี้อ้อมใช้โครงราวตากผ้าที่บ้าน
- ไม้แหวนสำหรับดัดผ้าให้มีพื้นที่ใช้งานด้านในกว้างขึ้น
- เชือกสำหรับรัดยึดกระโจมอบสมุนไพร
- หม้อหุงข้าว
- สมุนไพรสำหรับอบตัวคุณแม่หลังคลอด
- ที่นั่งเล็กๆ ด้านใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น