สวัสดีจ้าแม่ค้าอ้อมค่ะ ครั้งนี้จะมาบล็อคเกี่ยวกับน้อง win ลูกชายคนแรกของอ้อมเองค่ะ บางคนอาจจะทราบมาแล้วว่า อ้อมตั้งครรภ์ได้สักระยะนึงแล้ว ณ เวลานั้นอ้อมอายุ 35 ปีค่ะ บอกแบบไม่อายเลย เป็นธรรมดาของครอบครัวที่เมื่ออยู่กินกันแล้วก็อยากจะมีลูก ถือเป็นสัญญารักระหว่างพ่อ-แม่เลยค่ะ
พออายุได้ 35 ปี ก็เริ่มมีความกังวลใจเรื่องการมีลูก เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีลูกยากหรือเปล่า พี่ ป้า น้า อา และผู้สูงวัยที่บ้านก็บอกให้มี เพราะถ้าอายุเยอะกว่านี้จะมียาก หรืออาจทำให้เด็กมีปัญหาได้ ช่วงนั้นยอมรับว่าเครียดอยู่เหมือนกัน เพราะสถานะภาพตัวเอง และแฟน ยังทำงานประจำอยู่เลย เงินเดือนก็พอมีเก็บ และทั้งสองก็อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายสูงมากๆ
ก็ได้เริ่มวางแผนกันว่าถ้าเรามีลูกตอนนี้จะทำยังไง จะมีอะไรเข้ามาบ้าง แล้วจะรับมือยังไง คุยกันสองคน ปรึกษากันอยู่หลายคืน จนสรุปออกมาว่าควรจะมีลูกแล้วล่ะ
พยายามหลายๆ วิธีการ แต่ก็ยังไม่มี ยังไงก็อย่ายอมแพ้นะคะ สู้ๆ ค่ะ ศึกษาหนทางหลายๆ อย่าง ลองให้ครบทุกวิธี แม้กระทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นก็ควรบอกกล่าวขอพร เพื่อความมั่นใจ และกำลังใจที่ดี
หลังจากที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ได้ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลก็ได้ให้คำปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเสียแน่ๆ เฉพาะค่าทำคลอดคือ 15,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล ยอมรับว่าแอบตกใจเหมือนกัน แต่ก็ต้องยอมรับเพราะเราอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
ตอนนั้นอ้อมคิดว่าจะใช้สิทธิประกันสังคมหลังคลอดค่ะ คือ ออกเองไปก่อนแล้วค่อยไปขอเบิกเอา
เรื่องประกันสังคมอ้อมก็ส่งเอง ช่วงนั้นออกมาทำงานค้าขายออนไลน์แล้วค่ะ เป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มธุรกิจได้ 1 ปี ทำแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป บางคนอาจจะมองว่า
"โห!.. ทำมาตั้ง 1 ปีแล้วน่าจะอยู่ตัวแล้วมั้ง เรื่องค่าใช้จ่ายในการทำคลอดคงไม่มีปัญหาอะไรหรอก"
จริงๆ ก็ควรจะอย่างนั้นค่ะ แต่เพราะธุรกิจของอ้อมคือเริ่มจาก 0 จริงๆ แบบไม่มีอะไรเลย แล้วค่อยๆ ก้าวทีละนิดทำให้การเติบโตไม่ได้หวื๋อหว๋าเหมือนหลายๆ คนที่ทำ อ้อมไม่ได้ซื้อแบนเนอร์ ทำให้ต้องคิดนิดหน่อยเรื่องการคลอดครั้งนี้
หลังจากทราบ และแน่ใจว่าตัวเองตั้งครรภ์จากโรงพยาบาลแล้ว ก็กลับมาพักที่ห้องพัก และได้นั่งปรึกษากับแฟน 2 คน ว่าถ้าเรายังอยู่ในกรุงเทพฯแบบนี้ เราไม่น่าจะเลี้ยงลูกได้ เพราะองค์ประกอบหลายๆ อย่างไม่พร้อม ทั้งพื้นที่ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากๆ
ทั้งสองคนก็เลยเลือกที่จะย้ายออกจากกรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายว่าจะไปเริ่มต้นที่เชียงใหม่ แต่ระหว่างนั้นอ้อมต้องไปให้แพทย์ตรวจทุกๆ เดือนก่อนจะย้าย
ในแต่ละครั้งที่ไปพบแพทย์อ้อมจะเสียค่าใช้จ่ายขั้นต่ำประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป ไม่รวมค่าเดินทางนะคะ หลังจากไปพบแพทย์อยู่ 2 เดือน ที่กรุงเทพฯ อ้อมกับแฟนก็ได้ย้ายออกจาก กรุงเทพฯมาเริ่มต้นใหม่ที่ เชียงใหม่
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินว่าค่าใช้จ่ายก็ไม่ต่างกันมั้ง ตอนแรกๆ อ้อมก็ได้ยินมาแบบนั้นค่ะ แต่เพราะอยู่ใกล้บ้านเลยไม่ได้กังวลอะไร
มาถึงเชียงใหม่ก็เริ่มเลือกหาโรงพยาบาลที่จะต่อเรื่องการตั้งครรภ์ของอ้อม อ้อมเลือกที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ คนที่เชียงใหม่เขาจะเรียกว่าโรงพยาบาลสวนดอกค่ะ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะเสียงส่วนใหญ่บอกว่าที่นี่ดี
ครั้งแรกที่ไปก็เหมือนปกติโรงพยาบาลทั่วไปค่ะ คือต้องทำเรื่องเอกสาร ลงทะเบียน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เขาก็จะแนะนำให้เราไปแผนกที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ฝากท้อง อ้อมต้องขออภัยที่จำชื่อแผนกไม่ได้
หลังจากที่ไปถึงแผนกที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ฝากท้อง
เท่าที่มองเห็นตอนนั้นคือ มีพยาบาลกำลังทำหน้าที่ตัวเองอย่างขยันขันแข็ง ก็เลยเดินเข้าไปถามว่าจะมาฝากครรภ์ต้องทำไงบ้างคะ? พยาบาลเขาก็แนะนำว่าให้นำเอกสารไปเสียบที่บัตรคิว ณ ตอนนั้นคิดในใจว่าบัตรคิวตรงไหน พยายามมองหาแล้วไม่เจอ คุณพยาบาลเขาก็เลยนำไป แล้วก็ได้คำตอบของคำถามคาใจครั้งแรก คือ บัตรคิวจะมีอยู่ 2 แบบ ตอนที่อ้อมใช้บริการอยู่จะมี สีเหลือง และสีฟ้า ต้องสอบถามคุณพยาบาลว่าเราเข้ากรณีบัตรคิวสีอะไร
หลังจากเสียบบัตรคิว สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ การชั่งน้ำหนัก และตรวจฉี่ด้วยตนเองในเบื้องต้น ถ้าคนตั้งครรภ์ที่ไปครั้งแรกจะได้รับคำแนะนำจากพยาบาลถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ทั้งหมด ถือเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนสำหรับการใช้บริการสถานพยาบาล เพราะส่วนใหญ่ที่เจอก็จะแค่เสียบบัตรคิวแล้วนั่งรอ รอ แล้วก็รอ ยิ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐด้วย ก็อาจจะรอนานหน่อย แต่ที่นี่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลสวนดอกอย่างที่คนท้องถิ่นเรียกกันไม่ใช่อย่างนั้น
ขั้นตอนของผู้ใช้บริการจะต้องมีการปฏิบัติที่เหมือนกัน ถ้าเป็นคุณพ่อ คุณแม่ที่มาครั้งแรก จะได้รับคำแนะนำให้เข้าไปในห้องเพื่อรับชมวีดีโอ คล้ายๆ กับการอบรมการใช้บริการ และการปฏิบัติของการเป็นคุณพ่อ คุณแม่ที่ควรทำ ถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้าปกติจะตองนั่งรอกระบวนการ และขั้นตอนทั้งหมดดูเหมือนจะพอดีกันมาก พอทุกอย่างเสร็จคิวที่เราวางเอาไว้แต่แรกก็ใก้ลถึงแล้วหรืออาจจะถึงแล้วก่อนหน้า ซึ่งพยาบาลจะเรียกชื่อเราเอง
ทำให้ความรู้สึกในตอนนั้น เราไม่ได้นั่งรอเฉยๆ จนน่าเบื่อ เพราะมีกิจกรรมให้ทำระหว่างนั้น แถมยังไม่ได้ใช้บุคคลากรเยอะด้วย เพราะทุกขั้นตอนเพียงได้รับคำแนะนำ และชี้ทางให้ไปต่อเท่านั้น เป็นขั้นตอนที่ดูเหมือนกับการได้รับเงื่อนไขให้ทำก่อนที่จะเข้ารับบริการต่อไป ซึ่งทุกคนก็ต้องทำเหมือนกันที่เข้าไปใช้บริการ และทุกๆ ครั้งที่ไปใช้บริการทุกคนที่เคยทำมาแล้วก็จะรู้กัน และอาจจะถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ คือยื่นบัตรเอกสารที่วางเอาไว้เพื่อเข้าคิว หลังจากนั้นก็จะต้องเดินไปชั่งน้ำหนัก และตรวจฉี่
หลังจากนั้นคุณพยาบาลก็จะเรียกเข้าห้องตรวจตามขั้นตอนที่คนตั้งครรภ์จะได้รับ กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่เริ่มแรกเลยจนขั้นตอนสุดท้ายของวันนั้น ถ้ามีคนเยอะๆ สมมติว่าอ้อมไปถึงโรงพยาบาลเวลา 9.30 น. อ้อมจะได้กลับบ้านเวลาประมาณ 13.30-14.00 น.โดยประมาณ ถ้าคนไม่ค่อยเยอะก็ได้กลับช่วงเวลา
ประมาณ 11.00 น. แต่เกือบจะทุกครั้ง อ้อมไม่รู้สึกเลยว่าตัวเองต้องไปนั่งน่าเบื่ออยู่ที่โรงพยาบาล เพราะเขามีกิจกรรมให้ทำก่อนหน้า และบรรยากาศก็เต็มไปด้วยคุณพ่อ คุณแม่ที่มาใช้บริการ เกือบทุกคนที่ยิ้มแย้ม พลางพูดคุยกัน น้อยครั้งมากที่จะได้ยินเสียงโอดโอย เพราะอาการแพ้ท้อง หรือคนป่วยอื่นๆ มอง
ภาพรวมแล้วถือเป็นการจัดระเบียบผู้ใช้บริการได้ดี
หลังจากใช้บริการในแต่ละครั้งจนเสร็จเจ้าหน้าที่พยาบาลก็จะให้เอกสารเพื่อให้เราเดินไปชำระเงิน ตรงขั้นตอนนี้ต้องบอกว่าคนที่อยู่กรุงเทพฯมาก่อนจะต้องตกใจกับค่าใช้บริการโรงพยาบาล จากที่เคยไปพบแพทย์ตามนัด ต้องเสียครั้งละ 2,000 บาทขึ้นไป มาที่นี่ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาล
สวนดอกเสียหลักสิบ หรือมากหน่อยก็หลักร้อย แต่ไม่เคยเกินหนึ่งพัน ย้ำว่าไม่เคยเกินนะคะ ส่วนนี้อ้อมใช้บริการเฉพาะการฝากครรภ์ ตรวจครรภ์นะคะ แผนกอื่นอ้อมไม่ทราบเหมือนกัน
อ้อมกับแฟนถึงกับต้องถามย้ำเจ้าหน้าที่ๆ เก็บเงินว่า ตัวเลขนี้ถูกแล้วใช่ไหม เจ้าหน้าที่เขาก็บอกว่าถูกแล้วจ้า ตัวเลขไม่ผิดหรอก
ถ้าเรามองเปรียบเทียบเรื่องการให้บริการ ขั้นตอนต่างๆ กิจกรรมที่มีให้ทำ การบริการที่เป็นกันเองอย่างที่อ้อมได้บอกไปก่อนหน้า อ้อมเองแอบคิดว่าค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งคงไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทำให้รู้สึกว่า โรงพยาบาลสวนดอกถือเป็นอีกหนึ่งแห่งที่น่าชื่นชม เพราะทุกๆ คนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าคนจะรวยแค่ไหน การมาใชิบริการที่นี่คุณก็ต้องทำขั้นตอนเหมือนกัน
แต่ถ้าใครอยากได้รับบริการที่เยี่ยมหน่อย หรูหน่อย และได้พบแพทย์ที่เป็นอาจารย์หมอ ทางโรงพยาบาลก็ได้จัดสวนแยกต่างหากไว้ให้เช่นกันถือเป็นการดำเนินการกิจการควบคู่กันไประหว่างโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมาที่โรงพยาบาลว่าคุณต้องการใช้บริการด้านใด ถ้าคนมีฐานะหน่อยส่วนใหญ่ก็จะใช้บริการของเอกชนที่ให้บริการควบคู่กันไป อันนั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่รู้กัน
อ้อมใช้บริการจนครบกำหนดใกล้วันคลอด ระหว่างนั้นเขาก็จะมีขั้นตอนการสอน แนะนำ อบรม เรื่องการเป็นคุณพ่อ คุณแม่ การปฏิบัติตัวเมื่อใกล้คลอด วิธีการที่คุณพ่อจะช่วยคุณแม่บรรเทาเรื่องการเจ็บครรภ์ การสังเกตอาการ แทบจะทั้งหมด รวมไปถึงขั้นตอนการพาไปเดินดูห้องรอคลอด ห้องคลอด ห้องพักฟื้น
ทุกๆ ขั้นตอนเป็นการดูของจริงทั้งหมด ทำให้อ้อมซึ่งเป็นคุณแม่มือใหม่ได้ทราบล่วงหน้าว่าเราจะต้องทำตัวอย่างไร และจะต้องเจออะไรบ้างก่อนหน้า
แต่ที่อ้อมจะแนะนำเรื่องการเข้าใช้บริการของที่นี่ เฉพาะเรื่องการฝากครรภ์ และการคลอดนะคะ ต้องบอกไว้ก่อน เดี๋ยวบางท่านเข้ามาอ่านแล้วเหมารวมบริการด้านอื่นด้วย โดยปกติทางพยาบาลเขาจะแนะนำเรื่องการจองห้องพักช่วงหลังคลอด เขาจะถามเราว่า ถ้าเราต้องการห้องพิเศษ เราต้องทำเรื่องจองก่อน
ล่วงหน้า เขาจะมีห้องรับรองไว้หลายแบบ ทั้งเตียงคู่ เตียงเดี่ยว เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะต้องการความเป็นส่วนตัว และต้องการอยู่กับครอบครัวหลังคลอดบุตร
แต่นั่นเป็นการตัดสินใจของอ้อมที่จะบอกว่าผิด ก็มองว่าใช่ค่ะ สำหรับมุมมองอ้อมเองนะคะ ท้าวความนิดนึงเนาะ โดยปกติการเข้ารับการรักษา หรือเข้ารับบริการของโรงพยาบาลสวนดอกเขาจะแยกแผนกแต่ละแผนกออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน บางส่วนอยู่กันคนละตึก ซึ่งต้องใช้เวลาเดินหากัน ตอนที่อบรม
พยาบาลเขาก็แนะนำไว้แล้วว่าหลังคลอดเขาอยากให้เราอยู่ห้องธรรมดา หมายถึงห้องรวมไปเลย เพราะทางพยาบาลและคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างทั่วถึง และทันทีถ้ามีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น คุณพยาบาลให้คำพูดมาประโยคนึงว่า " ห้องธรรมดาสะดวกหมอ แต่ห้องพิเศษสะดวกญาติ " ซึ่งก็คงเข้าใจกันดีแล้วนะคะว่า ห้องรวมจะเป็นแบบไหน ของที่นี่จะมีเตียง 6 เตียง แบ่งเป็นฝั่งละ 3 เตียงหันเท้าเข้าหากัน เวลาให้นมลูกถ้าคุณแม่เดินไหวก็จะเดินไปห้องพักเด็กแรกคลอดเพื่อให้นม แต่ถ้าคุณแม่เดินไม่ไหวพยาบาลเขาก็จะเข็นลูกมาให้คุณแม่ให้นมหลังคลอดใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อคลอดเสร็จแล้ว
แต่เพราะอ้อมเคยชิน และได้รับรู้มาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการอยู่ห้องรวมจากสถานพยาบาลที่อื่นๆ อ้อมมองว่าการอยู่ห้องรวม ไม่ค่อยดี ทั้งห้องน้ำ ทั้งการเข้าถึงของญาติที่มาเฝ้า-เยี่ยม และการบริการที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง กังวลหลายๆ อย่าง ทำให้อ้อมเลือกที่จะใช้บริการห้องพิเศษเตียงเดี่ยว เพราะมีห้องน้ำในตัว การจะทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะได้สะดวกมากขึ้น
พอถึงเวลาแล้วต้องบอกว่าตัวเองคิดผิดจริงๆ เพราะการอยู่ห้องพิเศษนั่นหมายความว่า อ้อมจะต้องอยู่คนละตึกกับลูกที่นอนห้องพักฟื้นเด็กแรกเกิด ทางโรงพยาบาลสวนดอกเขาจะเรียกว่าห้องเนอสเซอรี่ ถ้าเป็นบริการของโรงพยาบาลเอกชน อันนี้อ้อมเดาเอาเองนะคะ
เข้าใจว่าเขาคงจะเข็นลูกมาให้เราที่กำลังพักฟื้นในห้องพิเศษเพื่อให้แม่ให้นมลูกครั้งแรก หรือมีพยาบาลมาทำการบีบน้ำนมเป็นเวลาเพื่อจะได้เอาไปให้ลูกที่พึ่งคลอด
แต่กับอ้อมที่พักห้องพิเศษไม่ใช่แบบนั้นค่ะ เพราะความที่ไม่รู้ ทางส่วนของห้องพิเศษเขาก็จะดูอาการของคุณแม่ว่าไหวหรือไม่ บางคนเพิ่งคลอดเสร็จเสียเลือดมากอาจจะมีอาการวิงเวียน ยังไม่พร้อมที่จะดูแลลูกเองเขาก็จะไม่เอาลูกมาไว้ที่เรา
ถ้า ณ ตอนนั้นอ้อมอยู่ห้องรวม อ้อมก็จะได้เจอหน้าลูกไว้ขึ้นและให้นมลูกด้วยตัวเองในวันแรกๆ เลย แต่เพราะระยะทางระหว่างห้องเนอสเซอรี่ กับห้องพิเศษที่อยู่กันคนละตึก รวมถึงการที่เป็นบริการของรัฐ เราจะไปคาดหวังว่าจะต้องมีคุณพยาบาลคอยเข็นเด็กแรกคลอดมาถึงคุณแม่เพื่อให้นมลูกเป็นเวลาคงจะเป็นไปไม่ได้ (อันนี้เพิ่งมาคิดได้หลังจากนั้น) เพราะมีความเสี่ยงสูงมากในระหว่างเดินข้ามตึก แต่ละโรงพยาบาลคงไม่อยากเสี่ยงทำแบบนั้น
สิ่งที่ทำได้เต็มที่ คือ ทางเนอสเซอรี่จะโทรมาบอกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องพิเศษว่าต้องการนมจากคุณแม่คนนี้ เท่าไหร่ และเจ้าหน้าที่ก็จะเดินมาบีบน้ำนมจากเราไปอีกที
แน่นอนว่า การบีบน้ำนมจากมือในครั้งแรกๆ กับการที่ลูกดูด คุณแม่คงเข้าใจดีนะคะ การบีบจะเจ็บมากๆ บางครั้งน้ำตาไหลเลยก็มี บางคนน้ำนมมาเยอะก็โชคดีไป แต่กับอ้อมถือว่าปานกลางค่ะ
ในวันแรกๆ เลยอ้อมต้องบีบน้ำนมไปให้ลูก ถ้าจำไม่ผิดคือ 3 ครั้งค่ะ เป็นกังวลมากตอนนั้น กลัวว่าลูกจะกินไม่อิ่ม แต่พยาบาลเขาก็บอกว่าเด็กแรกเกิดจะมีกระเพาะเท่ากับลูกแก้วเล็กๆ เท่านั้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลอะไร
สิ่งที่ทำให้อ้อมรู้สึกว่าคิดผิดต่อที่เลือกห้องพิเศษต่อมา คือ การอยู่ห้องพักฟื้นพิเศษเราจะไม่ได้รับคำแนะนำจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางด้านการดูแลคนหลังคลอด และคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่จริงๆ สำหรับการให้นมลูกแบบสอนกันตัวต่อตัว รวมถึงข้อมูลข่าวสาร และสิ่งที่ต้องทำบางอย่างอาจจะหลุดไปหรือไม่ได้รับ เพราะความที่ว่าเราอยู่ห่างจากส่วนที่เป็นเนอสเซอรี่ ผิดกับคนที่เขาอยู่ห้องธรรมดา
บางคนอาจสงสัยว่าจริงๆ เรื่องพวกนี้ทางโรงพยาบาลต้องเป็นฝ่ายให้ข้อมูลและคำแนะนำอยู่แล้วหนิ
ให้เราลองนึกภาพดูตามว่า แต่ละแผนกก็จะมีภาระหน้าที่ๆ แตกต่างกันไม่เหมือนกัน แต่ละแผนกก็จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเต็มความสามารถ เมื่อมีการประสานงานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เข้ามา ก็จะมาเข้าคิวกับอีกแผนก กว่าจะถึงคิวเราบางครั้งก็กินเวลาร่วมๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ผิดกับคนที่พักห้องธรรมดาที่จะได้รับข้อมูลต่างๆ คำแนะนำต่างๆ หรือถ้ามีความต้องการเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็จะได้รับในทันที ไม่ต้องรอเข้าคิว เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เฉพาะอยู่แล้ว อ้อมไม่ได้คิดถึงจุดนี้ในตอนแรกทำให้ต้องอยู่ห่างจากลูก และพลาดข้อมูลบางเรื่อง
วันที่สอง ถึงเวลาเข้าไปให้นมลูก อ้อมได้นั่งรถเข็นไปห้องเนอสเซอรี่ พอเข้าไปในห้องเนอสเซอรี่ อ้อมมองเห็นคุณแม่หลายๆ คนกำลังให้นมลูกอยู่
คุณแม่ทุกๆ คนดูเหมือนจะมีความเชี่ยวชาญแล้วกับการให้นม แต่กับอ้อมดูเหมือนจะเก้ๆ กังๆ ทำตัวไม่ถูกต้องทำแบบไหนตอนแรกอ้อมก็เริ่มจากทำตามความคิดว่าน่าจะใช่แบบนี้ แต่พอพยาบาลมาเห็นเขาก็บอกว่าไม่ใช่ แนะนำกันจนต้องบอกว่าถ้าเป็นข้อสอบ อ้อมสอบตกในวันนั้นเลยค่ะ
การให้นมลูกในแต่ละครั้ง ก่อนที่พยาบาลเขาจะให้เราอุ้มลูกเขาจะชั่งน้ำหนักเด็ก และให้เราเริ่มให้นมลูก หลังจากให้นมเสร็จ อาจจะใช้เวลา 2 ชั่วโมง พยาบาลเขาก็จะเอาลูกเราขึ้นชั่งน้ำหนักอีกทีเพื่อดูว่าลูกเราได้นมจากแม่เพียงพอหรือยัง เชื่อหรือไม่ว่า ผลกระทบของการที่อ้อมอยู่ห้องพิเศษ กว่าอ้อมจะได้
เจอหน้าลูก คือวันที่ 2 ลูกอ้อมไม่ยอมดูดนมจากเต้าเลยในช่วงแรกๆ จนต้องให้นมผสมไปก่อนเพื่อให้เด็กอยู่ได้ ในระหว่างนั้นพยาบาลเขาก็จะทำการบีบน้ำนมของเราเก็บไว้ป้อนให้ลูกอีกที
เห็นลูกดูดนมด้วยความที่เหมือนเขาจะหิวมากๆ แต่เพราะเขาพูดไม่ได้จริงๆ
แล้วที่ผ่านมา 2 ชั่วโมงล่ะที่ลูกอยู่กับเรา ทำไมเราทำให้ลูกอิ่มไม่ได้ คืออารมณ์มันบอกไม่ถูกว่ายังไง รู้แค่ว่านั่งรถเข็นกลับมาที่ห้องพิเศษแบบเศร้าๆ นี่เราทำอะไรลงไป เราทำไมเลือกที่จะอยู่ห้องพิเศษ ทำไมเราไม่อยู่ห้องธรรมดา คำถามหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในใจมากมาย อยากจะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อให้นม
ลูกให้ได้เร็วที่สุด พอกลับถึงห้องพักพิเศษ เห็นหน้าแฟนอ้อมถึงกับน้ำไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
ตอนนั้นแฟนอ้อมเขารู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะวันแรกเลยแฟนอ้อมเป็นคนบอกให้อ้อมเอาลูกมาอยู่ด้วย ด้วยเหตุที่เขาเป็นคนเอานมไปส่งให้ลูกวันแรก แฟนอ้อมจะรับรู้หลายๆ อย่างก่อนอ้อม แต่เพราะอ้อมมองว่าตัวเองเหมือนจะไม่ไหว เพราะมีอาการเจ็บแผล ก็เลยไม่อยากให้เอาลูกมาในวันแรก ความคิดตอนนั้นอาจเป็น เพราะเราคิดว่าลูกอยู่ในความดูแลของหมอ คงไม่ต้องกังวล
แต่แฟนอ้อมก็ให้เหตุผลที่น่าฟัง และสมเหตุสมผล คือ
จากครั้งนั้นอ้อมพยายามลุกเดินบ่อยๆ ทั้งๆ ที่แผลยังเจ็บอยู่ และเลือดยังไหลออกมาอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ตัวเองชินกับความเจ็บ เวลาไปให้นมลูกจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องเจ็บแผล เพราะเราเดินจนรู้สึกว่าตัวเองรับได้กับความเจ็บเท่านี้เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ลูกต้องรอเรา
ครั้งแรกอ้อมรอให้เจ้าหน้าที่เข็นรถเข็นเพื่อพาไปให้เนอสเซอรี่ แต่ครั้งที่สอง อ้อมเดินไปเองค่ะ เพราะรอไม่ไหว อันนี้อ้อมไม่โทษโรงพยาบาลนะคะ เพราะ โรงพยาบาลสวนดอกเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ ผู้ใช้บริการเยอะมากๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทันจริงๆ ในวันที่สอง และวันที่สาม แฟนอ้อมก็ไม่ได้อยู่ด้วยค่ะ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าทำไมแฟนถึงไม่ได้อยู่ด้วย คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนที่จะมาคลอดที่โรงพยาบาลสวนดอกควรทราบจ้า
หลังจากให้นมในวันที่สองลูกอ้อมก็เริ่มแข็งแรงขึ้น และอ้อมก็เริ่มได้รับคำแนะนำจากเนอสเซอรี่มากขึ้น คุณหมอให้ลูกมาอยู่ห้องพิเศษกับอ้อมในวันที่ 4 ค่ะ
เป็นการประเดิมครั้งแรก คุณหมอเขาจะชั่งน้ำหนักเด็กก่อนนำมาให้คุณแม่ และวันที่ 5 เขาจะมาชั่งน้ำหนัก และดูอาการเด็กอีกทีว่าเด็กตัวเหลืองไหม น้ำหนักลดเนื่องจากไม่ได้กินนมไหม ของอ้อมผ่านค่ะ เพราะตั้งแต่วันที่ 2 พอลูกได้เริ่มดูดนม น้ำนมก็เริ่มมา และมามากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ต้องรอให้นมมา กลายเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมาดูดนมเพราะแม่นมคัดมาก ...มีต่อตอนที่ 2 จ้า
พออายุได้ 35 ปี ก็เริ่มมีความกังวลใจเรื่องการมีลูก เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีลูกยากหรือเปล่า พี่ ป้า น้า อา และผู้สูงวัยที่บ้านก็บอกให้มี เพราะถ้าอายุเยอะกว่านี้จะมียาก หรืออาจทำให้เด็กมีปัญหาได้ ช่วงนั้นยอมรับว่าเครียดอยู่เหมือนกัน เพราะสถานะภาพตัวเอง และแฟน ยังทำงานประจำอยู่เลย เงินเดือนก็พอมีเก็บ และทั้งสองก็อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายสูงมากๆ
ก็ได้เริ่มวางแผนกันว่าถ้าเรามีลูกตอนนี้จะทำยังไง จะมีอะไรเข้ามาบ้าง แล้วจะรับมือยังไง คุยกันสองคน ปรึกษากันอยู่หลายคืน จนสรุปออกมาว่าควรจะมีลูกแล้วล่ะ
อ้อมคลอดลูกที่โรงพยาบาลสวนดอกเชียงใหม่จ้า ตอนที่ 1 |
อ้อมคลอดลูกที่โรงพยาบาลสวนดอกเชียงใหม่จ้า ตอนที่ 1
อ้อมมองว่าตัวเองโชคดีอยู่อย่างนึง คือ แม้อายุจะเยอะแล้ว แต่ถ้าคนที่ไม่เคยรู้จักกับอ้อมมาก่อน จะมองว่าอ้อมอายุยังไม่ถึงเลขสาม และก็การมีลูกของอ้อมไม่ได้พึ่งพาทางการแพทย์แต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นธรรมชาติหมด ไม่ได้เร่ง หรือกินยาอะไร แต่อ้อมก็ขอให้กำลังใจหลายๆ คนที่อยากมีลูก และกำลังพยายามหลายๆ วิธีการ แต่ก็ยังไม่มี ยังไงก็อย่ายอมแพ้นะคะ สู้ๆ ค่ะ ศึกษาหนทางหลายๆ อย่าง ลองให้ครบทุกวิธี แม้กระทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นก็ควรบอกกล่าวขอพร เพื่อความมั่นใจ และกำลังใจที่ดี
หลังจากที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ได้ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลก็ได้ให้คำปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเสียแน่ๆ เฉพาะค่าทำคลอดคือ 15,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล ยอมรับว่าแอบตกใจเหมือนกัน แต่ก็ต้องยอมรับเพราะเราอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
ตอนนั้นอ้อมคิดว่าจะใช้สิทธิประกันสังคมหลังคลอดค่ะ คือ ออกเองไปก่อนแล้วค่อยไปขอเบิกเอา
เรื่องประกันสังคมอ้อมก็ส่งเอง ช่วงนั้นออกมาทำงานค้าขายออนไลน์แล้วค่ะ เป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มธุรกิจได้ 1 ปี ทำแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป บางคนอาจจะมองว่า
"โห!.. ทำมาตั้ง 1 ปีแล้วน่าจะอยู่ตัวแล้วมั้ง เรื่องค่าใช้จ่ายในการทำคลอดคงไม่มีปัญหาอะไรหรอก"
จริงๆ ก็ควรจะอย่างนั้นค่ะ แต่เพราะธุรกิจของอ้อมคือเริ่มจาก 0 จริงๆ แบบไม่มีอะไรเลย แล้วค่อยๆ ก้าวทีละนิดทำให้การเติบโตไม่ได้หวื๋อหว๋าเหมือนหลายๆ คนที่ทำ อ้อมไม่ได้ซื้อแบนเนอร์ ทำให้ต้องคิดนิดหน่อยเรื่องการคลอดครั้งนี้
หลังจากทราบ และแน่ใจว่าตัวเองตั้งครรภ์จากโรงพยาบาลแล้ว ก็กลับมาพักที่ห้องพัก และได้นั่งปรึกษากับแฟน 2 คน ว่าถ้าเรายังอยู่ในกรุงเทพฯแบบนี้ เราไม่น่าจะเลี้ยงลูกได้ เพราะองค์ประกอบหลายๆ อย่างไม่พร้อม ทั้งพื้นที่ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากๆ
ทั้งสองคนก็เลยเลือกที่จะย้ายออกจากกรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายว่าจะไปเริ่มต้นที่เชียงใหม่ แต่ระหว่างนั้นอ้อมต้องไปให้แพทย์ตรวจทุกๆ เดือนก่อนจะย้าย
ในแต่ละครั้งที่ไปพบแพทย์อ้อมจะเสียค่าใช้จ่ายขั้นต่ำประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป ไม่รวมค่าเดินทางนะคะ หลังจากไปพบแพทย์อยู่ 2 เดือน ที่กรุงเทพฯ อ้อมกับแฟนก็ได้ย้ายออกจาก กรุงเทพฯมาเริ่มต้นใหม่ที่ เชียงใหม่
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินว่าค่าใช้จ่ายก็ไม่ต่างกันมั้ง ตอนแรกๆ อ้อมก็ได้ยินมาแบบนั้นค่ะ แต่เพราะอยู่ใกล้บ้านเลยไม่ได้กังวลอะไร
มาถึงเชียงใหม่ก็เริ่มเลือกหาโรงพยาบาลที่จะต่อเรื่องการตั้งครรภ์ของอ้อม อ้อมเลือกที่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ คนที่เชียงใหม่เขาจะเรียกว่าโรงพยาบาลสวนดอกค่ะ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะเสียงส่วนใหญ่บอกว่าที่นี่ดี
ครั้งแรกที่ไปก็เหมือนปกติโรงพยาบาลทั่วไปค่ะ คือต้องทำเรื่องเอกสาร ลงทะเบียน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เขาก็จะแนะนำให้เราไปแผนกที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ฝากท้อง อ้อมต้องขออภัยที่จำชื่อแผนกไม่ได้
หลังจากที่ไปถึงแผนกที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ฝากท้อง
- 1. ครั้งแรกเลย โห!...ทำไมคนเยอะจัง
- 2. แล้วต้องไปไหนต่อ หรือทำไงต่อไป
เท่าที่มองเห็นตอนนั้นคือ มีพยาบาลกำลังทำหน้าที่ตัวเองอย่างขยันขันแข็ง ก็เลยเดินเข้าไปถามว่าจะมาฝากครรภ์ต้องทำไงบ้างคะ? พยาบาลเขาก็แนะนำว่าให้นำเอกสารไปเสียบที่บัตรคิว ณ ตอนนั้นคิดในใจว่าบัตรคิวตรงไหน พยายามมองหาแล้วไม่เจอ คุณพยาบาลเขาก็เลยนำไป แล้วก็ได้คำตอบของคำถามคาใจครั้งแรก คือ บัตรคิวจะมีอยู่ 2 แบบ ตอนที่อ้อมใช้บริการอยู่จะมี สีเหลือง และสีฟ้า ต้องสอบถามคุณพยาบาลว่าเราเข้ากรณีบัตรคิวสีอะไร
หลังจากเสียบบัตรคิว สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ การชั่งน้ำหนัก และตรวจฉี่ด้วยตนเองในเบื้องต้น ถ้าคนตั้งครรภ์ที่ไปครั้งแรกจะได้รับคำแนะนำจากพยาบาลถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ทั้งหมด ถือเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนสำหรับการใช้บริการสถานพยาบาล เพราะส่วนใหญ่ที่เจอก็จะแค่เสียบบัตรคิวแล้วนั่งรอ รอ แล้วก็รอ ยิ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐด้วย ก็อาจจะรอนานหน่อย แต่ที่นี่โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลสวนดอกอย่างที่คนท้องถิ่นเรียกกันไม่ใช่อย่างนั้น
ขั้นตอนของผู้ใช้บริการจะต้องมีการปฏิบัติที่เหมือนกัน ถ้าเป็นคุณพ่อ คุณแม่ที่มาครั้งแรก จะได้รับคำแนะนำให้เข้าไปในห้องเพื่อรับชมวีดีโอ คล้ายๆ กับการอบรมการใช้บริการ และการปฏิบัติของการเป็นคุณพ่อ คุณแม่ที่ควรทำ ถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้าปกติจะตองนั่งรอกระบวนการ และขั้นตอนทั้งหมดดูเหมือนจะพอดีกันมาก พอทุกอย่างเสร็จคิวที่เราวางเอาไว้แต่แรกก็ใก้ลถึงแล้วหรืออาจจะถึงแล้วก่อนหน้า ซึ่งพยาบาลจะเรียกชื่อเราเอง
ทำให้ความรู้สึกในตอนนั้น เราไม่ได้นั่งรอเฉยๆ จนน่าเบื่อ เพราะมีกิจกรรมให้ทำระหว่างนั้น แถมยังไม่ได้ใช้บุคคลากรเยอะด้วย เพราะทุกขั้นตอนเพียงได้รับคำแนะนำ และชี้ทางให้ไปต่อเท่านั้น เป็นขั้นตอนที่ดูเหมือนกับการได้รับเงื่อนไขให้ทำก่อนที่จะเข้ารับบริการต่อไป ซึ่งทุกคนก็ต้องทำเหมือนกันที่เข้าไปใช้บริการ และทุกๆ ครั้งที่ไปใช้บริการทุกคนที่เคยทำมาแล้วก็จะรู้กัน และอาจจะถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ คือยื่นบัตรเอกสารที่วางเอาไว้เพื่อเข้าคิว หลังจากนั้นก็จะต้องเดินไปชั่งน้ำหนัก และตรวจฉี่
หลังจากนั้นคุณพยาบาลก็จะเรียกเข้าห้องตรวจตามขั้นตอนที่คนตั้งครรภ์จะได้รับ กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่เริ่มแรกเลยจนขั้นตอนสุดท้ายของวันนั้น ถ้ามีคนเยอะๆ สมมติว่าอ้อมไปถึงโรงพยาบาลเวลา 9.30 น. อ้อมจะได้กลับบ้านเวลาประมาณ 13.30-14.00 น.โดยประมาณ ถ้าคนไม่ค่อยเยอะก็ได้กลับช่วงเวลา
ประมาณ 11.00 น. แต่เกือบจะทุกครั้ง อ้อมไม่รู้สึกเลยว่าตัวเองต้องไปนั่งน่าเบื่ออยู่ที่โรงพยาบาล เพราะเขามีกิจกรรมให้ทำก่อนหน้า และบรรยากาศก็เต็มไปด้วยคุณพ่อ คุณแม่ที่มาใช้บริการ เกือบทุกคนที่ยิ้มแย้ม พลางพูดคุยกัน น้อยครั้งมากที่จะได้ยินเสียงโอดโอย เพราะอาการแพ้ท้อง หรือคนป่วยอื่นๆ มอง
ภาพรวมแล้วถือเป็นการจัดระเบียบผู้ใช้บริการได้ดี
หลังจากใช้บริการในแต่ละครั้งจนเสร็จเจ้าหน้าที่พยาบาลก็จะให้เอกสารเพื่อให้เราเดินไปชำระเงิน ตรงขั้นตอนนี้ต้องบอกว่าคนที่อยู่กรุงเทพฯมาก่อนจะต้องตกใจกับค่าใช้บริการโรงพยาบาล จากที่เคยไปพบแพทย์ตามนัด ต้องเสียครั้งละ 2,000 บาทขึ้นไป มาที่นี่ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาล
สวนดอกเสียหลักสิบ หรือมากหน่อยก็หลักร้อย แต่ไม่เคยเกินหนึ่งพัน ย้ำว่าไม่เคยเกินนะคะ ส่วนนี้อ้อมใช้บริการเฉพาะการฝากครรภ์ ตรวจครรภ์นะคะ แผนกอื่นอ้อมไม่ทราบเหมือนกัน
อ้อมกับแฟนถึงกับต้องถามย้ำเจ้าหน้าที่ๆ เก็บเงินว่า ตัวเลขนี้ถูกแล้วใช่ไหม เจ้าหน้าที่เขาก็บอกว่าถูกแล้วจ้า ตัวเลขไม่ผิดหรอก
ถ้าเรามองเปรียบเทียบเรื่องการให้บริการ ขั้นตอนต่างๆ กิจกรรมที่มีให้ทำ การบริการที่เป็นกันเองอย่างที่อ้อมได้บอกไปก่อนหน้า อ้อมเองแอบคิดว่าค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งคงไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทำให้รู้สึกว่า โรงพยาบาลสวนดอกถือเป็นอีกหนึ่งแห่งที่น่าชื่นชม เพราะทุกๆ คนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าคนจะรวยแค่ไหน การมาใชิบริการที่นี่คุณก็ต้องทำขั้นตอนเหมือนกัน
แต่ถ้าใครอยากได้รับบริการที่เยี่ยมหน่อย หรูหน่อย และได้พบแพทย์ที่เป็นอาจารย์หมอ ทางโรงพยาบาลก็ได้จัดสวนแยกต่างหากไว้ให้เช่นกันถือเป็นการดำเนินการกิจการควบคู่กันไประหว่างโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมาที่โรงพยาบาลว่าคุณต้องการใช้บริการด้านใด ถ้าคนมีฐานะหน่อยส่วนใหญ่ก็จะใช้บริการของเอกชนที่ให้บริการควบคู่กันไป อันนั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่รู้กัน
อ้อมใช้บริการจนครบกำหนดใกล้วันคลอด ระหว่างนั้นเขาก็จะมีขั้นตอนการสอน แนะนำ อบรม เรื่องการเป็นคุณพ่อ คุณแม่ การปฏิบัติตัวเมื่อใกล้คลอด วิธีการที่คุณพ่อจะช่วยคุณแม่บรรเทาเรื่องการเจ็บครรภ์ การสังเกตอาการ แทบจะทั้งหมด รวมไปถึงขั้นตอนการพาไปเดินดูห้องรอคลอด ห้องคลอด ห้องพักฟื้น
ทุกๆ ขั้นตอนเป็นการดูของจริงทั้งหมด ทำให้อ้อมซึ่งเป็นคุณแม่มือใหม่ได้ทราบล่วงหน้าว่าเราจะต้องทำตัวอย่างไร และจะต้องเจออะไรบ้างก่อนหน้า
แต่ที่อ้อมจะแนะนำเรื่องการเข้าใช้บริการของที่นี่ เฉพาะเรื่องการฝากครรภ์ และการคลอดนะคะ ต้องบอกไว้ก่อน เดี๋ยวบางท่านเข้ามาอ่านแล้วเหมารวมบริการด้านอื่นด้วย โดยปกติทางพยาบาลเขาจะแนะนำเรื่องการจองห้องพักช่วงหลังคลอด เขาจะถามเราว่า ถ้าเราต้องการห้องพิเศษ เราต้องทำเรื่องจองก่อน
ล่วงหน้า เขาจะมีห้องรับรองไว้หลายแบบ ทั้งเตียงคู่ เตียงเดี่ยว เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะต้องการความเป็นส่วนตัว และต้องการอยู่กับครอบครัวหลังคลอดบุตร
แต่นั่นเป็นการตัดสินใจของอ้อมที่จะบอกว่าผิด ก็มองว่าใช่ค่ะ สำหรับมุมมองอ้อมเองนะคะ ท้าวความนิดนึงเนาะ โดยปกติการเข้ารับการรักษา หรือเข้ารับบริการของโรงพยาบาลสวนดอกเขาจะแยกแผนกแต่ละแผนกออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน บางส่วนอยู่กันคนละตึก ซึ่งต้องใช้เวลาเดินหากัน ตอนที่อบรม
พยาบาลเขาก็แนะนำไว้แล้วว่าหลังคลอดเขาอยากให้เราอยู่ห้องธรรมดา หมายถึงห้องรวมไปเลย เพราะทางพยาบาลและคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างทั่วถึง และทันทีถ้ามีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น คุณพยาบาลให้คำพูดมาประโยคนึงว่า " ห้องธรรมดาสะดวกหมอ แต่ห้องพิเศษสะดวกญาติ " ซึ่งก็คงเข้าใจกันดีแล้วนะคะว่า ห้องรวมจะเป็นแบบไหน ของที่นี่จะมีเตียง 6 เตียง แบ่งเป็นฝั่งละ 3 เตียงหันเท้าเข้าหากัน เวลาให้นมลูกถ้าคุณแม่เดินไหวก็จะเดินไปห้องพักเด็กแรกคลอดเพื่อให้นม แต่ถ้าคุณแม่เดินไม่ไหวพยาบาลเขาก็จะเข็นลูกมาให้คุณแม่ให้นมหลังคลอดใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อคลอดเสร็จแล้ว
แต่เพราะอ้อมเคยชิน และได้รับรู้มาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการอยู่ห้องรวมจากสถานพยาบาลที่อื่นๆ อ้อมมองว่าการอยู่ห้องรวม ไม่ค่อยดี ทั้งห้องน้ำ ทั้งการเข้าถึงของญาติที่มาเฝ้า-เยี่ยม และการบริการที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง กังวลหลายๆ อย่าง ทำให้อ้อมเลือกที่จะใช้บริการห้องพิเศษเตียงเดี่ยว เพราะมีห้องน้ำในตัว การจะทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะได้สะดวกมากขึ้น
พอถึงเวลาแล้วต้องบอกว่าตัวเองคิดผิดจริงๆ เพราะการอยู่ห้องพิเศษนั่นหมายความว่า อ้อมจะต้องอยู่คนละตึกกับลูกที่นอนห้องพักฟื้นเด็กแรกเกิด ทางโรงพยาบาลสวนดอกเขาจะเรียกว่าห้องเนอสเซอรี่ ถ้าเป็นบริการของโรงพยาบาลเอกชน อันนี้อ้อมเดาเอาเองนะคะ
เข้าใจว่าเขาคงจะเข็นลูกมาให้เราที่กำลังพักฟื้นในห้องพิเศษเพื่อให้แม่ให้นมลูกครั้งแรก หรือมีพยาบาลมาทำการบีบน้ำนมเป็นเวลาเพื่อจะได้เอาไปให้ลูกที่พึ่งคลอด
แต่กับอ้อมที่พักห้องพิเศษไม่ใช่แบบนั้นค่ะ เพราะความที่ไม่รู้ ทางส่วนของห้องพิเศษเขาก็จะดูอาการของคุณแม่ว่าไหวหรือไม่ บางคนเพิ่งคลอดเสร็จเสียเลือดมากอาจจะมีอาการวิงเวียน ยังไม่พร้อมที่จะดูแลลูกเองเขาก็จะไม่เอาลูกมาไว้ที่เรา
ถ้า ณ ตอนนั้นอ้อมอยู่ห้องรวม อ้อมก็จะได้เจอหน้าลูกไว้ขึ้นและให้นมลูกด้วยตัวเองในวันแรกๆ เลย แต่เพราะระยะทางระหว่างห้องเนอสเซอรี่ กับห้องพิเศษที่อยู่กันคนละตึก รวมถึงการที่เป็นบริการของรัฐ เราจะไปคาดหวังว่าจะต้องมีคุณพยาบาลคอยเข็นเด็กแรกคลอดมาถึงคุณแม่เพื่อให้นมลูกเป็นเวลาคงจะเป็นไปไม่ได้ (อันนี้เพิ่งมาคิดได้หลังจากนั้น) เพราะมีความเสี่ยงสูงมากในระหว่างเดินข้ามตึก แต่ละโรงพยาบาลคงไม่อยากเสี่ยงทำแบบนั้น
สิ่งที่ทำได้เต็มที่ คือ ทางเนอสเซอรี่จะโทรมาบอกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องพิเศษว่าต้องการนมจากคุณแม่คนนี้ เท่าไหร่ และเจ้าหน้าที่ก็จะเดินมาบีบน้ำนมจากเราไปอีกที
แน่นอนว่า การบีบน้ำนมจากมือในครั้งแรกๆ กับการที่ลูกดูด คุณแม่คงเข้าใจดีนะคะ การบีบจะเจ็บมากๆ บางครั้งน้ำตาไหลเลยก็มี บางคนน้ำนมมาเยอะก็โชคดีไป แต่กับอ้อมถือว่าปานกลางค่ะ
ในวันแรกๆ เลยอ้อมต้องบีบน้ำนมไปให้ลูก ถ้าจำไม่ผิดคือ 3 ครั้งค่ะ เป็นกังวลมากตอนนั้น กลัวว่าลูกจะกินไม่อิ่ม แต่พยาบาลเขาก็บอกว่าเด็กแรกเกิดจะมีกระเพาะเท่ากับลูกแก้วเล็กๆ เท่านั้น ดังนั้นไม่ต้องกังวลอะไร
สิ่งที่ทำให้อ้อมรู้สึกว่าคิดผิดต่อที่เลือกห้องพิเศษต่อมา คือ การอยู่ห้องพักฟื้นพิเศษเราจะไม่ได้รับคำแนะนำจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางด้านการดูแลคนหลังคลอด และคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่จริงๆ สำหรับการให้นมลูกแบบสอนกันตัวต่อตัว รวมถึงข้อมูลข่าวสาร และสิ่งที่ต้องทำบางอย่างอาจจะหลุดไปหรือไม่ได้รับ เพราะความที่ว่าเราอยู่ห่างจากส่วนที่เป็นเนอสเซอรี่ ผิดกับคนที่เขาอยู่ห้องธรรมดา
บางคนอาจสงสัยว่าจริงๆ เรื่องพวกนี้ทางโรงพยาบาลต้องเป็นฝ่ายให้ข้อมูลและคำแนะนำอยู่แล้วหนิ
ให้เราลองนึกภาพดูตามว่า แต่ละแผนกก็จะมีภาระหน้าที่ๆ แตกต่างกันไม่เหมือนกัน แต่ละแผนกก็จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเต็มความสามารถ เมื่อมีการประสานงานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เข้ามา ก็จะมาเข้าคิวกับอีกแผนก กว่าจะถึงคิวเราบางครั้งก็กินเวลาร่วมๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ผิดกับคนที่พักห้องธรรมดาที่จะได้รับข้อมูลต่างๆ คำแนะนำต่างๆ หรือถ้ามีความต้องการเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็จะได้รับในทันที ไม่ต้องรอเข้าคิว เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เฉพาะอยู่แล้ว อ้อมไม่ได้คิดถึงจุดนี้ในตอนแรกทำให้ต้องอยู่ห่างจากลูก และพลาดข้อมูลบางเรื่อง
วันที่สอง ถึงเวลาเข้าไปให้นมลูก อ้อมได้นั่งรถเข็นไปห้องเนอสเซอรี่ พอเข้าไปในห้องเนอสเซอรี่ อ้อมมองเห็นคุณแม่หลายๆ คนกำลังให้นมลูกอยู่
คุณแม่ทุกๆ คนดูเหมือนจะมีความเชี่ยวชาญแล้วกับการให้นม แต่กับอ้อมดูเหมือนจะเก้ๆ กังๆ ทำตัวไม่ถูกต้องทำแบบไหนตอนแรกอ้อมก็เริ่มจากทำตามความคิดว่าน่าจะใช่แบบนี้ แต่พอพยาบาลมาเห็นเขาก็บอกว่าไม่ใช่ แนะนำกันจนต้องบอกว่าถ้าเป็นข้อสอบ อ้อมสอบตกในวันนั้นเลยค่ะ
การให้นมลูกในแต่ละครั้ง ก่อนที่พยาบาลเขาจะให้เราอุ้มลูกเขาจะชั่งน้ำหนักเด็ก และให้เราเริ่มให้นมลูก หลังจากให้นมเสร็จ อาจจะใช้เวลา 2 ชั่วโมง พยาบาลเขาก็จะเอาลูกเราขึ้นชั่งน้ำหนักอีกทีเพื่อดูว่าลูกเราได้นมจากแม่เพียงพอหรือยัง เชื่อหรือไม่ว่า ผลกระทบของการที่อ้อมอยู่ห้องพิเศษ กว่าอ้อมจะได้
เจอหน้าลูก คือวันที่ 2 ลูกอ้อมไม่ยอมดูดนมจากเต้าเลยในช่วงแรกๆ จนต้องให้นมผสมไปก่อนเพื่อให้เด็กอยู่ได้ ในระหว่างนั้นพยาบาลเขาก็จะทำการบีบน้ำนมของเราเก็บไว้ป้อนให้ลูกอีกที
" ยอมรับค่ะว่าน้ำตาซึมเหมือนกัน "
หลังจากที่รู้ว่าลูกไม่ได้นมจากเรา และได้เห็นคุณพยาบาลเอานมผสมใส่ขวดไปให้ลูกดูด เชื่อไหมคะ อารมณ์เหมือนคนหิวจัด ลูกอ้อมดูดไวมาก อ้อมไม่รู้หรอกว่าเขารู้สึกหิวหรือเปล่า แต่ภาพที่เห็น ณ ตอนนั้นต้องบอกว่า ถ้าเป็นคุณแม่จะรู้ดี และอยากร้องไห้มากๆ ไม่อยากออกมาจากตรงนั้นเห็นลูกดูดนมด้วยความที่เหมือนเขาจะหิวมากๆ แต่เพราะเขาพูดไม่ได้จริงๆ
แล้วที่ผ่านมา 2 ชั่วโมงล่ะที่ลูกอยู่กับเรา ทำไมเราทำให้ลูกอิ่มไม่ได้ คืออารมณ์มันบอกไม่ถูกว่ายังไง รู้แค่ว่านั่งรถเข็นกลับมาที่ห้องพิเศษแบบเศร้าๆ นี่เราทำอะไรลงไป เราทำไมเลือกที่จะอยู่ห้องพิเศษ ทำไมเราไม่อยู่ห้องธรรมดา คำถามหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในใจมากมาย อยากจะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อให้นม
ลูกให้ได้เร็วที่สุด พอกลับถึงห้องพักพิเศษ เห็นหน้าแฟนอ้อมถึงกับน้ำไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
ตอนนั้นแฟนอ้อมเขารู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะวันแรกเลยแฟนอ้อมเป็นคนบอกให้อ้อมเอาลูกมาอยู่ด้วย ด้วยเหตุที่เขาเป็นคนเอานมไปส่งให้ลูกวันแรก แฟนอ้อมจะรับรู้หลายๆ อย่างก่อนอ้อม แต่เพราะอ้อมมองว่าตัวเองเหมือนจะไม่ไหว เพราะมีอาการเจ็บแผล ก็เลยไม่อยากให้เอาลูกมาในวันแรก ความคิดตอนนั้นอาจเป็น เพราะเราคิดว่าลูกอยู่ในความดูแลของหมอ คงไม่ต้องกังวล
แต่แฟนอ้อมก็ให้เหตุผลที่น่าฟัง และสมเหตุสมผล คือ
"อาการเจ็บของอ้อมไม่ได้เกิดจากการเสียเลือดมาก ไม่มีอาการวิงเวียน ถ้าอ้อมจะอ้างเหตุผลแค่ว่าเจ็บแผล ถ้าเกิดอาการเจ็บแผลมันเป็นแบบนี้ 3 วันติด หรือมากกว่า แสดงว่าอ้อมจะไม่ได้ให้นมลูกจากเต้าตามเวลาที่แผลเจ็บเลยอย่างงั้นเหรอ"วันแรกที่อ้อมฟังก็ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไรหรอกค่ะ กังวลแค่ว่ากลัวดูแลลูกไม่ดี แต่หลังจากที่ไปให้นมลูกในวันที่ 2 อ้อมรู้สึกเลยว่าทำไมแฟนถึงพยายามจะเอาลูกมาอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่ตอนนั้นลูก และอ้อมพร้อมแล้ว เป็นเรื่องที่ทำให้อ้อมรู้สึกเจ็บในใจ และโทษตัวเอง ที่ดูจะเห็นแก่ตัวมากๆ
อ้อมคลอดลูกที่โรงพยาบาลสวนดอกเชียงใหม่จ้า ตอนที่ 1 |
ครั้งแรกอ้อมรอให้เจ้าหน้าที่เข็นรถเข็นเพื่อพาไปให้เนอสเซอรี่ แต่ครั้งที่สอง อ้อมเดินไปเองค่ะ เพราะรอไม่ไหว อันนี้อ้อมไม่โทษโรงพยาบาลนะคะ เพราะ โรงพยาบาลสวนดอกเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ ผู้ใช้บริการเยอะมากๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทันจริงๆ ในวันที่สอง และวันที่สาม แฟนอ้อมก็ไม่ได้อยู่ด้วยค่ะ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าทำไมแฟนถึงไม่ได้อยู่ด้วย คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนที่จะมาคลอดที่โรงพยาบาลสวนดอกควรทราบจ้า
หลังจากให้นมในวันที่สองลูกอ้อมก็เริ่มแข็งแรงขึ้น และอ้อมก็เริ่มได้รับคำแนะนำจากเนอสเซอรี่มากขึ้น คุณหมอให้ลูกมาอยู่ห้องพิเศษกับอ้อมในวันที่ 4 ค่ะ
เป็นการประเดิมครั้งแรก คุณหมอเขาจะชั่งน้ำหนักเด็กก่อนนำมาให้คุณแม่ และวันที่ 5 เขาจะมาชั่งน้ำหนัก และดูอาการเด็กอีกทีว่าเด็กตัวเหลืองไหม น้ำหนักลดเนื่องจากไม่ได้กินนมไหม ของอ้อมผ่านค่ะ เพราะตั้งแต่วันที่ 2 พอลูกได้เริ่มดูดนม น้ำนมก็เริ่มมา และมามากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ต้องรอให้นมมา กลายเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมาดูดนมเพราะแม่นมคัดมาก ...มีต่อตอนที่ 2 จ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น