บทความนี้ส่วนหนึ่งอ้อมอ้างอิงจาก งานสื่อสารสาธารณะ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554
เมื่อวันที่ 24 เม.ย ที่ผ่านอ้อมได้พาน้อง win ไปฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ค่ะ นับจากวันแรกเกิด ก่อนไปก็ได้ไปสอบถามจากเพื่อนหลายๆ คน เกี่ยวกับการให้วัคซีนในเด็ก และอัตราค่าบริการวัคซีน เท่าที่ทราบข้อมูลจากเพื่อนๆ มาถ้าเราไปฉีดวัดซีนข้างนอก แน่นอนว่าจะมีค่าบริการก็ถือว่าหลักพัน อาจจะ 3 พันขึ้นไปหรือถ้าในเมืองกรุงฯก็อาจจะแพงกว่านั้น ยิ่งถ้าไปสถานที่รักษาพยาบาลเช่นคลีนิคยิ่งจะมีคำแนะนำให้เสียเงินเพิ่มสำหรับวัคซีนเสริมต่างๆ แน่นอนว่าความเป็นแม่ ความเป็นพ่อก็ต้องยอมให้ ซึ่งก็ต้องตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น
สำหรับอ้อมเพื่อนๆ กันจะรู้ดีว่าไม่มีทางไปคลีนิคจ้า อิอิ อ้อมไปโรงพยาบาลแถวบ้านค่ะ ถ้าจำกันได้บทความแรกๆ อ้อมได้ทำบัตรทองให้ลูกตั้งแต่วันแรกเกิดเลย เพราะประหยัดไปได้มากกว่า 6,000 กว่าบาทสำหรับค่ารักษา และค่าดูแลลูกแรกเกิด และต่อมาก็เป็นค่าวัคซีนที่ต้องไปฉีดประจำก็ใช้สิทธิบัตรทองเหมือนกันค่ะ อะไรที่ประหยัดได้ก็ทำเพราะยังมีรายละเอียดอย่างอื่นที่เราควรทุ่มไปกับการเลี้ยงและดูแลเจ้าตัวน้อย บางคนอาจจะมีคำถามในใจว่า แล้ววัคซีนเหล่านี้เราไม่ให้ได้ไหม อันนี้ต้องบอกว่าสำคัญมากเลยนะคะ ไมควรพลาดจ้า
กำหนดการให้วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยักในหญิงมีครรภ์
ทั้งนี้ก่อนการให้วัคซีนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักในอดีตที่ผ่านมาของคุณแม่ก่อนิเพื่อเป็นการพิจารณาให้วัคซีนแก่คุณแม่ได้อย่างเหมาะสม
มาถึงช่วงของเด็กที่คลอดออกมาแล้วจนถึงระยะเริ่มต้นวัยเรียนกันบ้าง คุณพ่อ คุณแม่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าลูกๆ ของเราควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นอะไรบ้างก่อนหลัง และควรได้รับในช่วงอายุเท่าไหร่ถึงจะดี
ปัจจุบันมีโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเก็กก่อนวัยเรียน รวมแล้ว 10 โรค ค่อ วัณโรค คอตีบ ไอกรณ บาดทะยัก ตับอักเสบบี โปลิโอ หัด คางทูม หัดเยอรมัน และไข้สมองอักเสบเจอี และวัคซีนยางชนิดที่ต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง จึงจะสามารถป้องกันโรคได้นาน
เมื่อวันที่ 24 เม.ย ที่ผ่านอ้อมได้พาน้อง win ไปฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ค่ะ นับจากวันแรกเกิด ก่อนไปก็ได้ไปสอบถามจากเพื่อนหลายๆ คน เกี่ยวกับการให้วัคซีนในเด็ก และอัตราค่าบริการวัคซีน เท่าที่ทราบข้อมูลจากเพื่อนๆ มาถ้าเราไปฉีดวัดซีนข้างนอก แน่นอนว่าจะมีค่าบริการก็ถือว่าหลักพัน อาจจะ 3 พันขึ้นไปหรือถ้าในเมืองกรุงฯก็อาจจะแพงกว่านั้น ยิ่งถ้าไปสถานที่รักษาพยาบาลเช่นคลีนิคยิ่งจะมีคำแนะนำให้เสียเงินเพิ่มสำหรับวัคซีนเสริมต่างๆ แน่นอนว่าความเป็นแม่ ความเป็นพ่อก็ต้องยอมให้ ซึ่งก็ต้องตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น
สำหรับอ้อมเพื่อนๆ กันจะรู้ดีว่าไม่มีทางไปคลีนิคจ้า อิอิ อ้อมไปโรงพยาบาลแถวบ้านค่ะ ถ้าจำกันได้บทความแรกๆ อ้อมได้ทำบัตรทองให้ลูกตั้งแต่วันแรกเกิดเลย เพราะประหยัดไปได้มากกว่า 6,000 กว่าบาทสำหรับค่ารักษา และค่าดูแลลูกแรกเกิด และต่อมาก็เป็นค่าวัคซีนที่ต้องไปฉีดประจำก็ใช้สิทธิบัตรทองเหมือนกันค่ะ อะไรที่ประหยัดได้ก็ทำเพราะยังมีรายละเอียดอย่างอื่นที่เราควรทุ่มไปกับการเลี้ยงและดูแลเจ้าตัวน้อย บางคนอาจจะมีคำถามในใจว่า แล้ววัคซีนเหล่านี้เราไม่ให้ได้ไหม อันนี้ต้องบอกว่าสำคัญมากเลยนะคะ ไมควรพลาดจ้า
รักลูกด้วยวัคซีน |
ทำไมถึงต้องให้วัคซีน
เพื่อให้เด็กไทยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่จำเป็น กระทรวงสาธารณสุขโดยการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดให้มีการบริการวัคซีนแก่ทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เมื่อคลอดแล้วก็ยังติดตามให้อย่างต่อเนื่องไปจนกระทั้งถึงวัยเรียนหญิงมีครรภ์ ต้องได้รับวัคซีนอะไรบ้าง
ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรได้รับวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ซึ้งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคคอตีบและบาดทะยักในแม่ และยังป้องกันโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดได้อีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายควรสอบถามคุณหมอที่เราไปฝากครรภ์ถึงขั้นตอนการให้วัคซีนเหล่านี้ด้วย แต่โดยปกติทางโรงพยาบาลเขาจะมีกำหนดเวลาในการให้วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่แล้วจ้ากำหนดการให้วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยักในหญิงมีครรภ์
- ครั้งที่ 1 ควรให้ทันทีที่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์
- ครั้งที่ 2 ให้ทิ้งระยะห่างจากครั้งที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน
- ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 เป็นเวลา 6 เดือน
ทั้งนี้ก่อนการให้วัคซีนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักในอดีตที่ผ่านมาของคุณแม่ก่อนิเพื่อเป็นการพิจารณาให้วัคซีนแก่คุณแม่ได้อย่างเหมาะสม
มาถึงช่วงของเด็กที่คลอดออกมาแล้วจนถึงระยะเริ่มต้นวัยเรียนกันบ้าง คุณพ่อ คุณแม่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าลูกๆ ของเราควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นอะไรบ้างก่อนหลัง และควรได้รับในช่วงอายุเท่าไหร่ถึงจะดี
ปัจจุบันมีโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเก็กก่อนวัยเรียน รวมแล้ว 10 โรค ค่อ วัณโรค คอตีบ ไอกรณ บาดทะยัก ตับอักเสบบี โปลิโอ หัด คางทูม หัดเยอรมัน และไข้สมองอักเสบเจอี และวัคซีนยางชนิดที่ต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง จึงจะสามารถป้องกันโรคได้นาน
ตารางการให้วัคซีนแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี ตามแผนปฎิบัติงานของกระทรวงสาธาระณสุข
- อายุ แรกเกิด. วัคซีนวัณโรค, วัคซีนตับอักเสบบี
- อายุ 2 เดือน. วัคซีนรวมคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรณ, ตับอักเสบบี, และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 1
- อายุ 4 เดือน. วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรณ ตับอักเสบบี และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 2
- อายุ 6 เดือน. วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรณ ตับอักเสบบี และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 3
- อายุ 9 เดือน. วัคซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1
- 1 1/2 ปี. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 1 และ 2 (ห่างกัน 4 สัปดาห์) วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรณ และหยดโปลิโอ ครั้งที่ 4
- 2 1/2 ปี. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 3
- 4 ปี วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรณ และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 5
เด็กวัยเรียนต้องได้รับวัคซีนอะไรบ้าง
การให้วัคซีนในนักเรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคสูงขึ้นเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ในระยะเวลานาน กระทรวงสาธารณสุขได้ให้บริการวัคซีนแก่เด็กวัยเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที 1 และชั้นประถมศึกษาปีที 6 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของเด็กตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน แล้วพิจารณษให้วัคซีนเสริมแก่เด็กจนครบถ้วนตารางการให้วัคซีนแก่นักเรียน ป.1 และ ป.6 ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข
- กลุ่มนักเรียน ป.1 อายุเฉลี่ย 7 ปี วัคซีนที่จะให้คือ วัคซีนรวมหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน, วัคซีนรวมคอตีบ, บาดทะยักและหยอดโปลิโอในรายที่ได้มาไม่ครบ 5 ครั้ง, วัคซีนวัณโรค ให้เฉพาะในรายที่ไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับเมื่อแรกเกิด และไม่มีแผลเป็น
- กลุ่มนักเรียน ป.6 อายุเฉลี่ย 12 ปี วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยักทุกคน
คำแนะนำกรณีต่างๆ ที่สามารถให้วัคซีนได้
- เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด ไอ มีไข้ต่ำๆ สามารถรับวัคซีนได้
- หลังได้รับวัคซีนบางชนิด อาจมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ซึ่งจะหายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ควรเช็คตัวให้ดื่มน้ำมากๆ และให้ยาลดไข้ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจ้า
- หากเคยมีประวัติแพ้ยามาก่อน หรือเคยมีอาการรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว เวียนศรีษะ ชัก ไข้สูงมาก โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนรับวัคซีนทุกครั้ง
- วัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นร่างกายให้มีภูมิต้านทานสูงในระดับที่ป้องกันโรคได้ จึงควรไปรับวัคซันตามนัดทุกครั้ง
- ในกรณีไม่สามารถไปรับวัคซีนได้ตามกำหนดนัดให้รีบไปรับวัคซีนโดยเร็วที่สุด โดยไม่ต้องเริ่มต้นฉีดใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น