สำหรับคุณแม่ที่กำลังวางแผนอยากมีลูก หรือคนที่กำลังตั้งครรภ์ วันนี้อ้อมจะมาแนะนำจุดสังเกตุการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ เรามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ดูกรณีที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ เพื่อรับมือ และตั้งตัวได้ทัน และยังถือเป็นข้อมูลสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีเป็นระยะๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์มีดังนี้
รู้ทันการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ |
1. มีอาการแพ้ทอง
อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นภายใน 5-10 สัปดาห์ หลังการตั้งครรภ์ และจะหายไปเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 คุณแม่จะมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และมีนํ้าลาย มากกว่าปกติ ซึ่งมักเป็นตอนเข้านอน หรือหลังตื่นนอนใหม่ๆ วิธีการที่จะช่วยบรรเทาคือ คุณแม่ควรจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น นํ้าผลไม้ นํ้าขิง และนอนสักพัก จากนั้นค่อยลุกขึ้น ช่วงระยะนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหาร ย่อยง่าย หลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด หรืออาหารที่มีกลิ่น และพักผ่อนให้เพียงพอ2. อาการตกขาวมากกว่าปกติ
ช่วงนี้มีเลือดหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอด และมดลูก มากกว่าเดิม ประกอบกับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่เพิ่มขึ้น ทำให้มีตกขาวมากกว่าระยะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คุณแม่เพียงแต่ระวังไมให้เกิดการอักเสบเท่านั้น วิธีการคือ หมั่นอาบนํ้าทำความสะอาด ไม่ควรล้างเข้าไปใน ซ่องคลอด เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ถ้ารู้สึกคัน ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติ หรือรู้สึกแสบไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีจ้า3. อาการท้องผูก
เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้การหดรัดตัวของลำไส้ลดลง หรือการที่มดลูกไปกด ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทวารหนัก และการขาดการออกกำลังกาย รวมทั้งการรับประทานผลไม้ที่มีกากน้อย ดื่มนํ้าน้อย จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคท้องผูก ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายแต่เพียงพอ รับประทานผัก ผลไม้ ดื่ม นํ้ามากๆ และถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาก็ช่วยได้แล้วจ้า4. อาการตะคริว
อาการตะคริวที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มักเป็นตอนกลางคืนหลังจากที่คุณแม่เดินมาก ยืนนานๆ นั่งห้อยเท้าท่าเดียวตลอดวัน ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณน่อง และเกิดอาการปวด คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้ โดยการดัดปลายเท้าให้งอขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อน่อง ยืดตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เวลานอนให้หาหมอนรองเท้า และให้น่องสูงกว่าระดับตัวเล็กน้อย รวมทิ้งดื่มนมให้มากเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย ช่วงนี้อ้อมเป็นบ่อยมาก แล้วชอบเป็นกลางดึก หรือช่วงรุ่งเช้า แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ อ้อมเสริมนมเยอะมาก5. อาการแสบร้อนบริเวณเหนือลิ้นปี่
อาการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 6 ขึ้นไป เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้ลดลง มีนํ้าย่อยซึ่งเป็นกรดคั่งค้างในกระเพาะอาหารมากขึ้น มดลูกขยายตัวมาดันกระเพาะอาหาร ทำให้นํ้าย่อยเข้ามาท่วมในหลอดอาหาร จึงเกิดอาการแสบร้อน บริเวณลิ้นปี เมื่อเกิดอาการดังกล่าว คุณแม่ไม่ควรนอนราบ เพราะจะทำให้กรดในกระเพาะท่วมเข้ามา ในหลอดอาหารมากขึ้น แต่ควรใช้หมอนหนุนศีรษะและ ลำตัวให้สูงก็จะช่วยได้จ้า อาการนี้ตอนแรกอ้อมเองก็กังวล แต่บางทีคุณหมอจะถามเราว่าได้กินของเผ็ดไปด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีส่วนเหมือนกันจ้า
5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นข้อมูลหลักที่เราต้องเตรียทรับมือเอาไว้ คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการอะไรเลยก็มีอย่างอ้อมเรื่องอาเจียนแพ้ท้องอ้อมไม่มีเลย กินได้ปกติ แต่ถึงยังไงเราผู้หญิงที่กำลังเป็นคุณแม่ก็ควรทราบเรื่องนี้เอาไว้บ้างก็ดีนะคะ จะได้เตรียมตัวไว้ก่อนจ้า
ก่อนจากกันในบทความนี้ อ้อมขอฝากร้านนิดนนึงนะคะ คุณแม่มือใหม่อย่างอ้อมก็ทำงานเหมือนกันจ้า อ้อมค้าขายออนไลน์ค่ะ อย่าลืมสำหรับท่านใดที่กำลังมองหาชุดเดรส ชุดออกงาน กระเป๋าแฟชั่น อ้อมมีจำหน่ายนะคะฝากไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น